วันพฤหัสบดีที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2553

วิธีการอัพเดทหรือ Flash BIOS เพื่อให้เมนบอร์ดรองรับอุปกรณ์ใหม่ๆ ตอนที่ 3


ข้อควรระวังสำหรับการ Flash BIOS ขอย้ำอีกครั้งนะครับเพราะสำคัญมาก
  • ต้องใช้ Image BIOS ที่เป็นรุ่นเดียวกับเมนบอร์ดเท่านั้น
  • ระวังไฟตก ไฟฟ้าดับ หรือเครื่องแฮงก์ ขณะทำการ Flash เพราะอาจจะทำให้ไม่สามารถ Boot เครื่องได้เลย
  • ให้ทำการ Save Image BIOS ของเดิมเก็บใส่แผ่นดิสก์ไว้ก่อนเสมอครับ
  • ถ้ามีการเตือนว่า Image BIOS ที่กำลังจะ Flash นั้นไม่สามารถเข้ากันได้กับเครื่องหนือเมนบอร์ดของคุณ ระวัง อย่าทำการ Flash โดยเด็ดขาด เพราะเป็นไปได้มากที่คุณใช้ Image BIOS ผิดรุ่น ซึ่งอาจจะทำให้เครื่องคุณ Boot ไม่ขึ้นเลยก็ได้
หาก Flash BIOS ไปแล้ว Boot ไม่ขึ้นจะแก้ไขอะไรได้บ้าง
สำหรับท่านที่พบปัญหาเนื่องจากสาเหตุอะไรซักอย่าง ทำให้ไม่สามารถ Boot เครื่องได้ก็อย่าเพิ่งตกใจ วิธีแก้ไขก็มีดังต่อไปนี้
  • การทำ Boot-Block BIOS
    สำหรับเมนบอร์ดรุ่นใหม่ๆ โดยเฉพาะที่ใช้กับ Award BIOS นั้นจะมี Boot-Block BIOS มาด้วย โดยจะเป็นส่วนของข้อมูลเล็กๆ ที่จะไม่มีการเขียนทับ หรือ แก้ไขใดๆ ลงไปได้ แม้ว่าจะ Flash BIOS สักกี่ครั้งก็ตาม โดย Boot-Block BIOS นั้น จะรู้จักแต่ Floppy Disk Drive และ Display Card แบบ ISA เท่านั้น! หากว่าใช้ Display Card เป็น PCI หรือ AGP ก็หมดหวังเลยครับ และ Boot-Block BIOS นี้ จะสามารถ Boot เครื่องได้ เฉพาะ Floppy Disk เท่านั้น ดังนั้น ก็เราก็สามารถเตรียม Image BIOS และ ตัว โปรแกรม Flash ใส่ไว้ในแผ่น แล้ว พอ Boot เสร็จ ก็ ทำการ Flash ซะใหม่ ก็ได้ หรือ จะเขียน autoexec.bat ให้ทำการ Flash อัตโนมัติ เลยก็ได้
  • การทำ Hot Swapping
    การแก้ไขวิธีนี้ มีหลักการคือ นำเอา Chip BIOS ที่มีปัญหาไปทำการ Flash กับเมนบอร์ดของเครื่องที่ใช้งานได้ปกติ โดยทำขณะที่ยังเปิดเครื่องปกติอยู่ และถอด Chip BIOS ของเครื่องนั้นออก นำเอา Chip BIOS ที่ของเราที่มีปัญหาใส่เข้าไปแล้วทำการ Flash ใหม่ การแก้ไขวิธีนี้วุ่นวายไม่ใช่น้อยๆ และ ผมขอไม่รับผิดชอบนะครับ กับความเสียหาย ที่เกิดขึ้นจากวิธีนี้ เพราะมันค่อนข้างละเอียด และ ผิดพลาดได้ง่ายๆ ... เพราะฉะนั้น ขอให้อยู่ในดุลยพินิจของตัวเองด้วย สำหรับวิธีนี้
    • ให้ถอด Chip BIOS ที่มีปัญหาออกมา แล้วหาเมนบอร์ดรุ่นเดียวกัน Spec เดียวกัน ซึ่งไม่มีปัญหามาเพื่อใช้ในการ Boot โดยก่อนที่จะทำการ Flash ก็ให้เข้าไปใน BIOS เพื่อ Set System BIOS Cacheable ให้เป็น Enable ก่อนด้วย
    • Boot เครื่อง ด้วยเมนบอร์ดตัวที่ BIOS ไม่มีปัญหา และ Boot แบบ Clean ดังที่กล่าวมาแล้ว
    • ทำการแกะ Chip BIOS จากเมนบอร์ดออกโดยที่ยังเปิดเครื่องทิ้งไว้อยู่ ตรงนี้ ต้องใช้ความระมัดระวัง และ เสี่ยงเป็นอย่างมาก
    • ใส่ Chip BIOS ตัวที่มีปัญหาลงไปแทนที่ แล้วทำการ Flash BIOS ใหม่ จากนั้น ก็ Reboot หรือ ปิดเครื่อง
    • ถ้าไม่มีปัญหาใดๆ เจ้า BIOS ที่เคยมีปัญหา ก็จะกลับมาใช้งานได้ดังเดิมครับ
ข้อแนะนำเพิ่มเติมสำหรับใครที่คิดจะใช้วิธีการนี้คือ ก่อนที่จะเริ่มต้น ให้ทำการแกะ Chip BIOS ออกมาจาก Socket ก่อนแล้วใส่ใหม่โดยวางแปะลงไป กดแต่เพียงเบา ๆ แต่ต้องแน่ใจว่าทุก ๆ ขาของ Chip BIOS สัมผัสกับ Socket ดีนะครับ เมื่อถึงเวลาที่เปลี่ยน Chip BIOS โดยที่ยังต้องเปิดเครื่องอยู่นั้น จะช่วให้สามารถแกะ Chip CMOS ออกมาได้ง่าย ๆ
นอกจากนี้ ข้อมูลที่ผมเคยได้ยินมาคือ สามารถที่จะใช้เมนบอร์ดคนละรุ่น เพื่อทำการ Flash BIOS แบบ Hot Swapping นี้ก็ได้ แต่อย่างน้อยที่สุดก็ขอให้เป็น Chip BIOS ที่เป็นเบอร์และขนาดเดียวกันนะครับ ทั้งนี้ผมไม่รับรองความเสียหายที่จะเกิดขึ้นนะครับ โดยที่ขณะที่จะทำการ Flash จะทีข้อความเตือนทำนองว่า BIOS นั้นไม่สามารถเข้ากับเครื่องหรือเมนบอร์ดได้ ก็กดยืนยันการทำการ Flash BIOS ต่อไปเลยนะครับ
  • สำหรับเมนบอร์ดของ Intel โดยเฉพาะ
    • เปลี่ยน Jumper ตรง Flash Recovery Jumper ให้ไปอยู่ตรง Recovery Mode ( อ่านจากคู่มือ และ สำหรับบางรุ่น ก็ไม่มี Jumper ตัวนี้)
    • เอาแผ่น Bootable Upgrade Disk ใส่ไว้ที่ Drive A;
    • Boot เครื่อง โดยเครื่องจะทำงานตามปกติ แต่จะไม่มีการ Display อะไรออกที่หน้าจอ ( วิธีนี้ ก็คล้ายๆ กับ วิธีที่ Boot-Block BIOS เพียงแต่ ใช้สำหรับเมนบอร์ดของ Intel บางรุ่น เท่านั้น ) โดยจะดูผลการ Boot หรือ การทำงานโดยสังเกตุจากไฟ LED บนฝา CASE และ/หรือ ฟังจากเสียง Beep
    • ระบบจะทำการกู้คืนข้อมูล BIOS ด้วยข้อมูลที่อยู่บน Disk ให้สังเกตุที่ไฟของ Floppy Disk ถ้าไฟติดอยู่ และ ยังมีเสียงอ่านอยู่ ก็แสดงว่ากำลังทำงานอยู่ และถ้าดับเมื่อไร ก็แสดงว่าการ กู้คืนนั้น เสร็จสิ้นลงแล้ว
    • ปิดเครื่อง แล้วเปลี่ยน Jumper จากข้อแรกให้กลับอยู่ตำแหน่งเดิม จากนั้นก็เปิดเครื่องใหม่ ซึ่งก็น่าจะไม่มีปัญหาแล้ว

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น